การนำเข้าแรงงานพม่า ลาว กัมพูชา

         การจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานอย่างถูกกฎหมาย (ความหมายสั้นๆ) คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม จะทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย ต้องมีเอกสาร ครบ 3 อย่าง คือ 

  1. Passport (พาสปอร์ต)  หนังสือเดินทาง
  2. VISA ประเภท Non Immigrant L-A
  3. ใบอนุญาตทำงาน / E-workpermit Smart card

การนำเข้าแรงงานมีขั้นตอนดังนี้

  1. ดำเนินการยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU (Demand Letter)
  2. ประสานตัวแทนจัดหางานต่างประเทศดำเนินการจัดทำ Name List
  3. นายจ้าง/ตัวแทนยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวพร้อม Name List กรุงเทพยื่นที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ พื้นที่ 1-10 ต่างจังหวัดยื่นได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และกรมการจัดหางานเพื่อขอเอกสาร Calling Visa
  4. ดำเนินการพาแรงงานเข้ารับการตรวจลงตราวีซ่า Non-LA  2 ปี 
  5. ดำเนินการพาแรงงานเข้าอบรมการทำงานและการดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศไทย ณ. ศูนย์อบรมแรกรับและสิ้นสุดการจ้างงาน พร้อมถ่าย E-Work Permit (ใบอนุญาตพิเศษ)
  6. ดำเนินการพาแรงงานไปตรวจสุขภาพ
  7. นำแรงงานส่งมอบให้แก่นายจ้าง

**วีซ่า Non-LA อยู่ในประเทศไทย 2 ปี และ อนุญาตทำงานในประเทศไทยได้ 2 ปี**

 เอกสารทางนายจ้าง (นายจ้างเซ็นชื่อประทับตรา)

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้าง กรณีนายจ้างเป็นต่างชาติให้ใช้สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีรายการและสำเนาใบอนุญาตทำงาน จำนวน 1 ชุด 
  2. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนตามหนังสือรับรองบริษัทให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านที่ตรงกับบริษัทด้วย จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทฯ อายุไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ชุด
  4. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถาพที่ทำงาน จำนวน 1 ชุด
  5. ภาพถ่ายสถานประกอบการ ที่มีป้ายชื่อบริษัท ภาพถ่ายขณะพนักงานกำลังปฏิบัติงาน ที่พักของแรงงาน ห้องนอน จำนวน 1 ชุด
  6. ประกาศรับสมัครงาน กำหนดเงื่อนไขลักษณะงาน คุณสมบัติ อายุ เพศ การศึกษา จำนวนพนักงาน ตำแหน่งงาน เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ จำนวน 1 ชุด

การนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา

ในกรณีที่นายจ้าง / สถานประกอบการต้องการนำเข้าแรงงาน พม่า ลาว กัมพูชา ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนด ดังนี้

  1. แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (นจ.2) ตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา / สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว / ราชอาณาจักรกัมพูชา
  2. หนังสือแต่งตั้ง (Power of Attorney)
  3. สัญญาจ้างแรงงาน Employment Contract
  4. สำเนาบัตรประชาชนนายจ้างในกรณีที่นายจ้างเป็นคนต่างชาติใช้หนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีรายการสำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสถานประกอบการให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการมาด้วย
  6. หนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน (กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล)

 

หมายเหตุ

  1. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาไม่อนุญาตให้นายจ้างบุคคลธรรมดานำเข้าแรงงานพม่าได้ ยกเว้น เป็นแรงงานที่เคยทำงานกับนายจ้างมาก่อนแล้วอนุญาตให้นำเข้าได้
  2. การนำเข้าแรงงานพม่า หากเป็นหญิงล้วน ขั้นต่ำต้องมีจำนวน 5 คน
  3. ไม่อนุญาตให้แรงงานพม่าทำงานในกิจการคนรับใช้ในบ้าน และ ร้านอาหาร
  4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ราชอาณาจักรกัมพูชา นายจ้างบุคคลธรรมดา สามารถนำเข้าแรงงานได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

RELATED POST

สถานทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ออกประกาศสถานการณ์โควิด-19 ในเมียนมา

ประกาศสถานเอกอัครราช…

กรมการจัดหางาน ย้ำ นายจ้างเร่งพาแรงงานต่างด้าวขอใบอนุญาตทำงาน ก่อนหมดอายุ 31 มีนาคม 2563

  นายสุชาติ พรช…

พิสูจน์สัญชาติ ทำพาสปอร์ต

ขั้นตอนการดำเนินการพ…

ตรวจลงตราวีซ่า

              การตรว…