การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว / การแจ้งการจ้าง (พม่า ลาว กัมพูชา)

     เรื่องการเปลี่ยนนายจ้างสาเหตุมาจาก การที่แรงงานเปลี่ยนสถานที่ทำงาน เป็นเหตุให้เอกสารของแรงงานไม่ตรงกับนายจ้างปัจจุบัน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้ทำงาน โดยมีความผิดคือ ทำงานไม่ตรงกับนายจ้าง การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานนำเข้ามี 6 เงื่อนไข ดังนี้

  1. นายจ้างเลิกจ้าง/นายจ้างเสียชีวิต
  2. นายจ้างล้มละลาย
  3. นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
  4. นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  5. ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
  6. นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างเดิม

      แต่ในปัจจุบัน พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561) กำหนดให้แรงงานต่างด้าวสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยไม่ต้องใช้ใบแจ้งออกจากงานจากนายจ้างเก่า (กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ) แต่นายจ้างเก่ายังคงมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แรงงานต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หากไม่แจ้งจะมีความผิดตามกฎหมาย

ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนนายจ้าง แบ่งเป็น

  1. กรณีแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติไม่มี
  2. กรณีแรงงานนำเข้าเสียค่าวางหลักประกันคนละ 1,000 บาท
    ♦ บทลงโทษ (พระราชกำหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2561
    ♦ มาตรา 102 ผู้ใดรับคนต่างด้าว เข้าทำงานโดยฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน
    ♦ นายจ้างรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน หรือ ให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิทำได้ จะมีบทลงโทษ คือ ปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อการจ้างต่างด้าว 1 คน
    ♦ เพิ่มเติม มาตรา 131 ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสาร สำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท หรือ ทั้งจำ ทั้งปรับ

เอกสารที่ต้องใช้

  1. ใบรับแจ้ง
  2. แบบแจ้งการจ้างคนต่างด้าว (สำหรับนายจ้างเซ็น)
  3. แบบแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าว (สำหรับแรงงาน)
  4. เอกสารนายจ้าง แล้วแต่กรณีบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
  5. สำเนาหนังหนังสือเดินทาง + VISA พร้อมฉบับจริง
  6. สำเนาใบอนุญาตทำงาน พร้อมฉบับจริง
  7. หนังสือมอบอำนาจนายจ้าง (กรณีนายจ้างไม่มาดำเนินการเอง)
  8. หนังสือมอบอำนาจแรงงานต่างด้าว(กรณีคนต่างด้าวไม่มาดำเนินการเอง)
  9. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ
  10. แผนที่***กรณีแรงงานเมียนมา บางแห่งใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างด้าว***

กรณีบุคคลธรรมดา

  1. หนังสือมอบอำนาจ นายจ้างเซ็นชื่อ
  2. สำเนาบัตรประชาชน นายจ้างเซ็นชื่อ
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน นายจ้างเซ็นชื่อ

กรณีนิติบุคคล

  1. หนังสือมอบอำนาจ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามประทับตรา
  2. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  3. สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  4. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 6 เดือน กรรมการผู้มีอำนาจลงนามประทับตรา

เอกสารแรงงานต่างด้าว

1.สำเนาบัตรสีชมพู ถ้ามี

2.สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีรายการ

3.สำเนาใบเสร็จรับเงินขอรับใบอนุญาตทำงาน

4.เล่มใบอนุญาตทำงานฉบับจริง ถ้ามี

  • ต่างด้าวและนายจ้างต้องเซ็นรับรองสำเนาเอกสารทุกฉบับ
  • ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน  –  ไม่มีค่าธรรมเนียม

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

RELATED POST

สถานทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ออกประกาศสถานการณ์โควิด-19 ในเมียนมา

ประกาศสถานเอกอัครราช…

กรมการจัดหางาน ย้ำ นายจ้างเร่งพาแรงงานต่างด้าวขอใบอนุญาตทำงาน ก่อนหมดอายุ 31 มีนาคม 2563

  นายสุชาติ พรช…

การนำเข้าแรงงานพม่า ลาว กัมพูชา

         การจ้างแรงง…

พิสูจน์สัญชาติ ทำพาสปอร์ต

ขั้นตอนการดำเนินการพ…